ตอน 1
|
|
คำพูดที่ว่า ปรับตัวก่อน ได้เปรียบ ยังคงใช้ได้ดีจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลก ธุรกิจในปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคการค้าเสรี การแข่งขันทางการค้ามีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้อง พัฒนาองค์กรในทุกด้าน โดยเฉพาะกระบวนการผลิต เืพื่อให้มีศักยภาพสอดคล้องตาม มาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ซึ่งแนวทางที่สำคัญประการหนึ่ง ในการเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการผลิต คือ การสอบเทียบ (calibration) เครื่องมือ
|
|
การสอบเทียบเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ และ้เป็นกระบวนการหนึ่งในระบบมาตรวิทยา (metrology) ซึ่ง Internation Organization for Standardzation ได้ให้คำนิยามไว้ใน VIM 6.13 ว่า Set of operation that establish, under specifled conditions, the relationship between values of quantities indicated by a measuring instrument or measuringsystem, or values represented by a material measure or a reference material, and the corresponding values realized by standards.
|
|
ทำไมต้องสอบเทียบ |
|
คำถามยอดฮิตที่มีคนตั้งคำถามมากมายว่าทำไมต้องทำการสอบเทียบเครื่องมือวัด ก่อนอื่นต้องขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนและใกล้ตัวเราที่สุด เช่น นาฬิกาข้อมือ ที่ใช้กันอยู่ทุกวัน เคยสังเกตบ้างไหมว่า ในตอนที่ซื้อนาฬิกามา เราจะทำการปรับตั้งเวลา ให้ถูกต้องกับเวลามาตรฐาน แต่่เมื่อใช้ไปซักพัก นาฬิกาอาจบอกเวลาช้าหรือเร็วกว่าปกติ ทั้งที่แบตเตอร์รี่ของนาฬิกายังอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดี นอกจากนี้บ่อยครั้งที่ ต้องทำการตรวจสอบว่านาฬิกายังคงบอกเวลาที่ถูกต้องอยู่หรือไม่ โดยอาจเทียบกับเวลาเคารพธงชาตื 08.00 น. หรือ 18.00 น. หรือเทียบกับเวลามาตรฐาน ที่หมายเลขโทรศัพท์ 181 ซึ่งการตรวจสอบนี้จะกระทำเป็นระยะ ๆ เำพื่อให้แน่ใจว่า นาฬิกาของเรายังคงบอกเวลาได้ถูกต้องอยู่เสมอ ทั้งนี้เนื่องจากว่าถ้านาฬิกาสามารถบอกเวลา ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ย่อมจะไม่กระืทบต่อกิจกรรมและการดำเนินชีวิตประจำวัน และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานต่าง ๆ ประสพความสำเร็จได้อย่างราบรื่น เช่น การประชุม การนัดหมาย หรือการปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นต้น
|
|
เครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิตของภาคอุตสหกรรมก็เช่นกัน โรงงานอุตสหกรรมก็จะมี กระบวนการในการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัดให้มีความถูกต้องตามขอบข่าย ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้และกำหนดไว้ เพื่อให้ได้มาตรฐาาก่อนนำออกจำหน่าย เมื่อภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ สั่งซื้อเครื่องมือดังกล่าว ก็จะำได้รับรองผลการตรวจสอบ (inspection certificate) หรือใบรับรองผลการสอบเทียบ (colibration certificate) เครื่องมือวัดนั้น ๆ มาด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในการสั่งซื้อ โดนในใบรับรองผลการตรวจสอบหรือผลการสอบเทียบจะระบุสมบัติเฉพาัะต่าง ๆ ของเครื่องมือ เช่น พิสัยการวัด (range) ค่าความละเอียด (resolution) ค่าความถูกต้อง (accuracy) และสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นที่เครื่องมือสามารถทำงานได้ เป็นต้น
|
|
แต่เครื่องมือถูกนำไปใช้งานระยะหนึ่ง อายุของส่วนประกอบและเครื่องมือวัดที่ใช้งาน อาจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงหรือความคลาดเคลื่อนของผลการวัดที่เกิดขึ้นนี้ อาจเกิดจากการ Drift หรือการลอยเลื่อน (มอก. 235 เล่ม 14) หมายถึง การแปรผันอย่างช้า ๆ ตามเวลาของลักษณะทางมาตรวิทยาของเครื่องมือวัด อันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ไฟฟ้า เคมี หรือช่างกล เป็นต้น นอกจากนี้ ผ๔้ใช้งานเครื่องมือวัดจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การเสื่อมสภาพของเครื่องมือวัด ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการใช้งานและการเก็บรักษาอีกด้วย ฉะนั้น เมื่อเครื่องมือวัดอยู่ในสภาวะดังกล่าว สิ่งที่ตามมาคือเึครื่องมือวัดที่เึคยบอกค่าการวัดที่ถูกต้อง อาจบอกค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ส่งผลให้ผลการวัดที่ได้รับไม่น่าเชื่อถือ หรือหากนำเครื่องมือดีงกล่าวไปใช้งานในกระบวนการผลิตย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพของ การออกแบบและกระบวนการผลิต การ Drift หรือการเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือวัด ไม่สามารถกำจัดได้ แต่สามารถที่จะตรวจพบและแก้ไขได้โดยผ่านกระบวนการสอบเทียบ ด้วยการใช้ตัวมาตรฐานการวัดที่สามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติเพื่อสอบเทียบ ให้กับเครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิต
|
|
ดังนั้นการสอบ เทียบจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ช่วยสร้างความมั่นใจในผลการวัดของเครื่องมือวัดทุก ๆ ประ้เภท ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิต การทดสอบ และการวิเคราะห์ต่าง ๆ เพราะองค์ประกอบ ที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำให้ผลการวัดที่เกิดขึ้นเป็นที่เชื่อถือได้ คือการใช้เึครื่องมือวัด ที่มีความถูกต้องและแม่นยำ เหมาะสมกับการปฏิบัติงานนั่นเอง
|
|
|
|
องค์ประกอบของการสอบเทียบเครื่องมือวัด |
|
องค์ประกอบของการสอบเทียบเครื่องมือวัด ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน IOS/IEC 17/025 ประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือเครื่องมือวัดอ้่างอิง (reference standards equipment) ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (laboratory) บุคลากรผู้ทำหน้าที่ในการสอบเทียบ (personnel) และวิธีการสอบเทียบ (method)
|
|
|
|
องค์ประกอบที่กล่าวมานี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้การสอบเทียบมีความถูกต้อง แม่นยำ ด้วยเหตุผลดังต่ิอไปนี้
|
|
1. การเลือกเครื่องมืิอมาตรฐาน ISO 10012-1 กล่าวไว้ว่า เครื่องมือมาตรฐานที่นำมาเพื่อ ให้เครื่องมือวัดอื่น ๆ ได้ใช้เปรียบเทียบ จะต้องมีความถูกต้องสูงกว่าึความถูกต้อง ของเครื่องมือที่รับการสอบเทียบ 3 เท่าขึ้นไป (ISO 10012) และที่สำคัญคือ เครื่องมือวัดนั้นจะต้องมีความสามารถสอบกลับได้ (traceability) สู่มาตรฐานการวัดแห่งชาติ หรือหน่วยมูลฐาน (SI Units)
|
|
2. หัวใจสำคัญของการสอบเทียบที่ขาดไม่ได้คือ การสอบกลับได้ผลการวัด เนื่องจากจะเป็นสิ่งแสดงถึงลำดับความสัมพันธ์ที่จะทำให้การสอบเทียบเครื่องมือบรรลุผล โดยการใช้มาตรฐานที่มีความถูกต้องสูงกว่า นั่นหมายความว่าผลของการวัดจะต้องสามาุรถ แสดงถึงการส่งต่ิอความถูกต้องของการวัดที่ยอมรับได้ ถ่ายทอดผ่านห้ิองปฏิบัติการหลายระดับ จนถึงผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
|
|
|
|
3. การควบคุมสภาวะแวดล้อมห้องปฏิบัติการให้มีความเหมาะสม ทั้งในด้านอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง และการสั่นสะเทือน จะส่งผลต่ิอประสิทธิภาพและความถูกต้องของการสอบเทียบ
|
|
4. ความสามารถของบุคลากร จะต้องได้รับการศึกษา ฝึกอบรม และสั่งสมประสบการณ์ ในเกณฑ์ที่จะสามารถให้ผลการสอบเทียบที่ถูกต้องได้ เนื่องจากบุคลากรเหล่านี้จะต้องทำหน้าที่ ในการสอบเทียบรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลและการประเมินความไม่แน่นอนของการวัด
|
|
5. การเลือกใข้วิธีการที่เหมาะสม เำีพราะการเลือกวิธีการสอบเทียบที่เหมาะสม จะทำให้ได้ความถูกต้องของการตรวจสอบเทียบที่ต้องการ รวมทั้งมีความสะดวกและค่าใช้จ่ายต่ำ ปัจจุบันมีวิธีการสอบเทียบมากมาย เช่นวิธีการสอบเทียบตามมารตฐาน ISO, ASTM, DIN และ JIS เป็นต้น
|
|
หลักการทั่วไปของการสอบเทียบ |
โดยทั่วไป การวัด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ |
|
1. การวัดทางด้านฟิสิกส์หรือการวัดลักษณะื่ทางกายภาพ เช่น เวลา ความยาว อุณหภูมิ และมวล เป็นต้น
|
|
2. การวิเคราะห์ทดสอบทางด้านเคมี ชีววิทยาและสิ่งแวดล้อม เพื่อตรวจหาปริมาณของสารละลายต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์
|
|
การสอบเทียบอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการวัดทั้งทางด้านฟิสิกส์และการวิเคราะห์ ทดสอบทางด้านเคมี ชีววิทยา และสิ่งแวดล้อม จะมีความแตกต่างกัน ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องเข้าใจในคุณลักษณะของอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้งานควบคู่ไปด้วย เพื่อให้การสอบเทียบมีประสิทธิภาพสูงสุด กล่าวคือ
|
|
- อุปกรณ์และเครื่องมือวัดทางฟิสิกส์ (measuring instrument) เช่น เครื่องช่าง โวลต์มิเตอร์ เวอร์เนียร์เทอร์โมมิเตอร์ เกจวัดความดัน เป็นต้น การสอบเทียบเครื่องมือวัดประเภทนี้ จึงสามารถทำได้โดยผ่านระบบการสอบเทียบ และอาศัยตัวมาตรฐานการวัดที่ำำได้จัดทำมาเพื่อการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการ ในระดับต่าง ๆ ที่สามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติหรือหน่วยมูลฐาน (SI Units) เช่่น เครื่องมือวัดประเภทเวอร์เนียร์จะต้องสอบเทียบโดยเกจบล็อก เครื่องชั่งสอบเทียบโดยใช้ตุ้มน้ำหนัก เป็นต้น
|
|
- อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทดสอบ เป็นอุปกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ตรวจหาคุณสมบัติของสารละลายอย่างใดอย่างหนึ่ง การสอบเทียบอุปกรณ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ต้องอาศัยวัสดุอ้างอิง (reference materials) หรือวัสดุอ้่างอิง ที่ได้รับการรับรอง (certified referrence materials) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสมบัติเฉพาะของเครื่องวิเคราำะห์ทดสอบ
|
|
นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่ผู้ใช้งานควรคำนึงถึง ได้แก่ |
|
- ควรมีการกำหนดช่วงระยะเวลาสำหรับการบำรุงรักษา ทั้งการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข
|
|
- ควรจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวัด ได้แ่ก่ บันทึกเครื่องมือ วิธีการวัด การสอบเทียบที่สามารถยืีนยันการวัดว่าถูกต้องและสามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐาน การวัดแห่งชาติหรือหน่วยมูลฐาน (SI Units) เนื่องจากเอกสารเหล่านี้ จะเป็นประจักษ์พยานของการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้ทั้วผู้บริหารขององค์กร ลูกค้าและองค์กรให้การรับรองต่าง ๆ มีความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทั้งที่เกิดมาแล้วในอดีตจนถึงปัจจุบัน และต่อเนื่องไปในอนาคต
|
|
- การสอบเทียบเครื่องมือจะ้ต้องทำทั้งก่อนนำมาติดตั้งใช้งาน และเป็นช่วงระยะเวลา เช่น ทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ลักษณะของการใช้งาน การบำรุงรักษา และสมบัติเฉพาะของเครื่ิองมือ เป็นต้น และควรเลือกใช้บริการจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรองความสามารถ (accredit) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
|
|
- แม้จะมีการสอบเทียบเครื่องมือแล้ว ผลการวัดก็ยังมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นเสมอ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ใช้งานจะต้องคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลา คือระบบการวัดจะต้องมีึความถูกต้องมากกว่าความถูกต้องที่ต้องการของผลิตภัณ ที่นำมาวัด ตั้งแต่ 3 เท่าขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ผลิต ที่จะหาจุดสมดุลระหว่างความเสี่ยงที่ผลิตภัณฑ์จะไม่เป็นไปตามข้อกำหนด กับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
|
|
ประโยชน์ที่จะำได้รับ |
การสอบเทียบเึครื่องมือวัดที่เหมาะสมจะสร้่างความมั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์และบริการได้ตามคุณภาพที่กำหนด ซึ่งกล่าวโดยสรุป การสอบเทียบมีประโยชน์ ดังต่อไปนี้
|
|
เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ ในทุกกระบวนการหรือขั้นตอนการผลิตจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการวัด ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิ การวัดน้ำหนีก การวัดความยาว การวัดสมบัติเฉพาะทางไฟ้ฟ้า หรือการวัดอื่น ๆ เครื่องมืิอวัดและตรวจวิเคราะห์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเหล่านี้ จึงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วย ให้การผลิตมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่ิอผลการที่้เกิดจาก เครื่ิองมือวัดและตรวจวิเคราะห์แสดงผลได้ถูกต้องและแม่นยำย่อมสนับสนุนให้การผลิตภัณฑ์ มีความถูกต้อง สอดคล้องกับมาตรฐานทีกำหนดไว้ รวมทั้งช่วยให้กระบวนการตัดสินใจรับ หรือไม่รับผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
|
|
ใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม กระบวนการสอบเทียบยังเป็นกระบวนการที่ช่วยบ่งบอก ถึงความคลา้ดเคลื่อนของเครื่องมือวัดที่ใช้ในงาน โดยทำกานเปรียบเทียบกับมาตรฐานการวัด (reference standards equipment) ที่รู้ค่าความถูกต้องแน่นอน ผลการเปรียบเทียบที่เกิดขึ้นจะเป็นปัจจัยสำคัญและมีความเกี่ยวข้่องกับการกำหนดค่า ความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัด โดยผลการวัดที่ถูกต้องจะช่วยให้การปรับแ้ก้ไข กระบวนการผลิต เพื่อการชดเชยความบกพร่องของผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างถูกต้อง ทำให้ของเสียลดลงหรือแทบไม่มีเลย ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่นั้น เกิดประโยขน์สูงสุดภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย สำหรับการทำลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการผลิตใหม่
|
|
|
|
เป็นรากฐานที่สอดคล้ิองตามมาตรฐานสากล หรือมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งของ ภาคอุตสาหกรรมที่ว่าการวัดจะต้องสามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติ การสอบเทียบเครื่องมือถือเป็นข้อกำหนดหนึ่งในระบบมาตรฐานต่าง ๆ เช่น มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 และระบบการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 เป็นต้น และปัจจียที่ขาดไม่ได้ คือในการสอบเทียบเครื่องมือนั้นจะต้องมีความสามารถสอบกลับได้ สู่หน่วยวัด SI โดยผ่านมาตรฐานแห่งชาติหรือมาตรฐานสากล การสอบเทียบที่เกิดขึ้น จึงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และลดค่าใช้จ่ายในการวัดและทดสอบซ้ำ
|
|
ประกันความคงเส้นคงวา และสร้างความมั่นใจในความสามารถประกอบเข้ากันได้ การสอบเทียบเครื่องมือช่วยควบคุมคุณภาพของกระบวนการผลิต ให้ดำ้เนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำใ้ห้การผลิตมีความคงเส้นคงวา และยังช่วยให้การผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยผู้ผลิตรายเดียวกัน หรือผู้ผลิตต่างรายกันที่ใช้มาตรฐานการผลิตภัณฑ์เดียวกัน สามารถนำชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกันได้อีกด้วย
|
|
สรุป |
|
การสอบเทียบมีความสำคัญไม่เฉพาะต่อโรงงานอุตสหกรรมที่ต้องการขอการรับรอง ระบบมาตรฐานคุณภาพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงอุตสหกรรมทุกประเภท เนื่องจากการสอบเทียบ เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นผลการวัดของ เครื่องมือวัดต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งเปรียบเสมือนหลักประกันที่ใช้ในการควบคุม คุณภาพในกระบวนการผลิตนั่นเอง ฉะนั้นเำพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันทางการค้า ระหว่างประเทศ การสอบเทียม จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็น
|
|
เอกสารอ้่างอิง |
|
1. international organization for standardzation; International vocabulary of basic and general terms in metrology (VIM). 2nd Switzerland, 1993 |
|
2. ISO/IEC 17025 : 1999, General requirement for the callbration and cornpetence testing laboratories. |
|
3. ISO 10012-1:1992 Quality assurance requirement for measuing equipment |
|
4. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม : นิยามศัพท์มาตรวิทยา (มอก. 235 เล่ม 14-2531). |
|